วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

9.กระต่ายคลอดลูก

8.การชำแหละกระต่าย

7.สารคดีกระต่าย

6.เรียนรู้ก่อนเลี้ยงกระต่าย

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

5.การสืบพันธุ์ของกระต่าย

อายุของกระต่ายที่พร้อมแก่การผสมพันธุ์ 
          กระต่ายเพศเมีย จะเริ่ม ยอมรับการผสมพันธุ์ ตั่งแต่อายุประมาณ 3 เดือนครึ่ง ซึ่งทั้งนี้ % ของการผสมติด จะมีน้อยกว่า กระต่ายที่
มีอายุประมาร 4 เดือน - 4 เดือนครึ่ง แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของกระต่ายด้วยครับ เพราะ กระต่ายสายพันธุ์ ธรรมดา กับกระต่ายสายพันธุ์แคระ จะมีการเจริญเติบโตเต็มวัยไม่พร้อมกันซึ่ง ทางที่ดีเราควรให้กระต่ายของเรานั้น เริ่มการผสมพันธุ์ ตั่งแต่อายุประมาร 6-8 เดือนขึ้นไปซึ่งกระต่ายที่ ได้รับการผสมในช่วง 3-4 เดือนแรก จะมี% การผสมติดจน้อยครับ และ ถ้าเกิดการผสมติด ลูกกระต่ายที่คลอดออกมานั้น อาจจะไม่แข็งแรง หรือ แม่กระต่ายนั้น อาจจะมีน้ำนมไม่เพียงพอกับลูกกระต่าย และ อาจจะทำให้ลูกกระต่ายที่เกิดมานั้น ตายได้ครับ ซึ่ง ลูกกระต่ายที่เกิดจากแม่กระต่ายในช่วงอายุดังกล่าว มี % การตาย สูงการที่แม่กระต่ายท้อง ก่อน หรือ มีลูก ในช่วงผสมติด 3 - 4 เดือนแรกเมื่อแม่กระต่าย คลอดอกมา อาจจะทำให้การเจริญเติบโตของ กระต่ายนั้น หยุด หรือ ช้าลงไป ดังนั้นจึงอาจจะทำให้กระต่ายนั้น โตไม่ได้เต็มที่


ระยะของการตั้งท้องของกระต่าย 
          กระต่ายในแต่ละสายพันธุ์ และ ในแต่ละ ตัว แต่ละคลอกนั้นจะใช้เวลาในการในการตั้งท้องไม่เท่ากันนอกจากนี่ ก็จะขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ สภาพแวดล้อม และ จำนวนลูกของแม่กระต่ายด้วยครับ โดยกระต่ายที่มีลูกมากก็จะมีระยะ ของการตั้งท้องสั้นกว่ากระต่าย ที่มีจำนวน ลูกน้อยกว่าซึ่ง หลังจากกระต่ายตัวเมียได้รับการผสมกับกระต่ายตัวผู้ กระต่ายตัวเมียที่ได้รับการผสมแล้วจะ ใช้เวลาในการตั้งท้อง โดยเฉลี่ยประมาณ 30 - 32 วัน ครับ และ กระต่ายบางตัวก็ อาจจะใช้เวลาในการตั้งท้องเพียง 29 วัน หรือ มากกว่า 32 วัน ครับ แต่โดยปกติแล้วกระต่าย จะใช้เวลาในการตั้งท้องไม่ เกิน 35 วันในระยะที่กระต่ายใกล้คลอดกระต่าย ในระยะนี้ กระต่าย จะเริ่มมีการ สร้างรัง อาจจะ โดยการกัดขนของตัวเอง ในส่วนของบริเวณ ของ ส่วนท้อง ต้นขา และ เหนียงคอ เพื่อ เอามาใช้มาเป็นวัสดุ ในการรอง รังคลอดครับ ซึ่งปริมาณ ของ ขน หรือ วัสดุที่ใช้สำหรับ รองรังคลอด ของกระต่าย จะมีมากหรือ น้อยก็ขึ้นอยู่กับ นิสัยของกระต่ายแต่ละตัว หรือจากสายพันธุ์ และ ประสบการณ์ ของแม่กระต่าย



แม่กระต่ายออกลูก 


แยกตัวผู้
          
ถ้ายังไม่ได้แยกตัวผู้ออก รีบแยกออกก่อนตัวเมียจะคลอดลูก แต่ของใครออกลูกมาแล้วโดยที่ยังไม่ได้แยกตัวผู้ ก็อย่าปล่อยเลยตามเลยนะคะ รีบแยกตัวผู้ออกซะดีๆ



เตรียมรังคลอด
          ในกรงกระต่ายมีรังคลอดหรือยังคะ ที่จริงควรใส่ไว้ในตั้งแต่แม่กระต่ายยังไม่ออกลูก ค่ะ ถ้ายังไม่ได้เตรียมไว้ ก็ควรจะรีบไปหามาค่ะ แม่กระต่ายบางตัวจะเข้าไปออกในรังที่เราเตรียมไว้ให้ หลังจากแม่กระต่ายออกลูกแล้ว เค้า
จะเลียทำความสะอาดลูก ซึ่งหลังจากแม่กระต่ายทำความสะอาดลูกแล้ว เราก็สามารถเข้าไปตรวจดูได้ค่ะ ว่ามีลูกกระต่ายตายบ้างหรือไม่ ถ้าพบว่าตายก็ควรจะเก็บออกค่ะ เพราะว่าถ้าปล่อยไว้ อาจจะทำให้ฝูงมดมาค่ะ ทีนี้ลูกกระต่ายตัวอื่นๆจะโดนมดกัดตายตามไปด้วยแต่ถ้าแม่กระต่ายไม่ยอมออกในลูกรังคลอดที่เราเตรียมไว้ให้ เราก็สามารถจะจับลูกกระต่าย ไปไว้ในรังคลอดได้ค่ะ การปล่อยลูกกระต่ายไว้นอกรังคลอดไม่ดีหรอกค่ะ เพราะว่า ขาลูกกระต่าย หรือตัวลูกกระต่าย อาจจะตกลงไประหว่างซี่กรง และโดนแม่เหยียบตายได้ ซึ่งกระต่ายไม่มีปัญหาเรื่องการผิดกลิ่นหรอกค่ะ ไม่ต้องห่วงค่ะ เราสามารถจะจับลูกกระต่ายได้ค่ะ แต่หากใครกลัวมากๆ จะเอามือไปถูๆที่ขนแม่กระต่ายก่อนค่อยมาจับลูกกระต่ายเพื่อความสบายใจ ก็ไม่ผิดกติกาค่ะ



จัดกรงให้ปลอดภัยแก่ลูกกระต่าย
         
 ในกรณีที่แม่กระต่ายไม่ยอมทึ้งขน แล้วอากาศค่อนข้างเย็นเนี่ย เราอาจจะช่วยลูกกระต่ายให้มีที่นอนนุ่มๆอุ่นๆได้โดยไปหาสำลีแบบก้อนๆค่ะ ที่ขายตามโลตัสเป็นก้อนใหญ่ๆ เอามาปูในกรงก็ได้ค่ะ ลูกกระต่ายจะซุกตัวเข้าไปนอนเหมือนกับเป็นขนของแม่ค่ะ (กรณีที่ลูกกระต่ายที่แม่ไม่เลี้ยง ก็เอาสำลีมาปูได้ ไม่ผิดกติกาค่ะ)นอกจากนี้ ตามพื้นกรงที่เป็นซี่ๆ ลูกกระต่ายอาจจะตกลงไประหว่างซี่ หรือ ขาติดระหว่างซี่กรง แล้วโดนเหยียบได้ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถจะป้องกันได้ โดยการปูพื้นกรงด้วยหญ้าแห้งค่ะ อาจจะเป็น หญ้าขนแห้งๆ หรือหญ้าแห้ง Timothy ที่ขายเป็นถุงๆก็ได้ค่ะ เพื่อปิดซี่ห่างของพื้นกรง ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความปลอดภัย แม่กระต่ายยังสามารถจะใช้รองนอน ลูกกระต่ายก็ได้รับความอบอุ่น และแม่กระต่ายยังสามารถจะแทะหญ้าแห้งเหล่านี้กินได้อีกด้วย


กระต่ายแรกเกิด

          ลูกกระต่าย แรกเกิด จะยังไม่ลืมตาค่ะ ตัวจะเป็นสีชมพูแป๊ด ไม่มีขน ตาจะยังไม่ลืมซึ่งเมื่อตอนกระต่ายแรกเกิดนั้น จะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ต้องให้แม่กระต่ายเลี้ยงค่ะ เมื่อแม่กระต่ายคลอดลูก ออกมาแล้ว แม่กระต่าย จะเลียทำความสะอาดลูกทันที เมื่อกระต่ายจะเข้ามาให้นมลูก ลูกกระต่ายจะดิ้นตะกายเข้ามาหานมของแม่กระต่าย โดยที่แม่กระต่ายจะยกตัวขึ้นเล็กน้อย และลูกกระต่าย จะนอนหงายดูดนมวิธีสังเกตง่ายๆ ว่าแม่กระต่ายเลี้ยงลูกหรือเปล่า ก็คือ ดูจากตรงท้องกระต่ายค่ะ หากได้รับน้ำนมจากแม่อย่างเพียงพอ ท้องลูกกระต่ายจะเต่ง แต่ถ้าแม่กระต่ายไม่เลี้ยงลูก ท้องจะแฟบเหี่ยวค่ะ แบบในภาพ

การเจริญเติบโตของลูกกระต่าย
  • เมื่อแรกเกิด จะยังไม่มีขนขึ้นค่ะ ตัวสีแดงๆ ตาไม่ลืม
  • ภายใน 1 สัปดาห์ ขนจะขึ้นเต็มตัว
  • ภายใน 6-10 วัน จะเริ่มลืมตา
  • และเมื่ออายุครบ 3 สัปดาห์ จะหย่านม

4.การเลี้ยงดูกระต่าย

การดูแลกระต่าย
          การดูแลกระต่ายไม่ใช่เรื่องยาก แต่เป็นงานที่ต้องทำเป็นกิจวัตร ทุกวัน ทุกสัปดาห์ และทุกเดือน การเลี้ยงกระต่ายนั้นสำคัญที่ทุกๆสิ่งต้องสดและสะอาด เราอาจจัดแบ่งลักษณะงานที่ต้องทำให้กระต่ายไว้เพื่อง่ายต่อการปฏิบัติดังน
ี้
          ทุกวัน
- ตรวจสอบสุขภาพกระต่ายประจำวัน สังเกตุการนั่ง เดิน ยืน ตรวจเล็บ สุขภาพขน และสุขภาพหู
- ปล่อยกระต่ายวิ่งเล่น เราอาจกั้นพื้นที่บางส่วนไว้ให้กระต่ายได้ออกกำลังกายในช่วงที่เราทำความสะอาดกรงของกระต่ายในตอนเช้า-เย็น (แล้วแต่ความสะดวกของผู้เลี้ยง)
- เก็บเศษผักสด ผลไม้เก่าที่กระต่ายทานไม่หมดทิ้ง เพราะเศษอาหารที่เหลือตกค้างนี้ หากกระต่ายทานเข้าไปอีกอาจทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
- เก็บเศษอาหารเม็ดเก่าทิ้ง เพราะอาหารเม็ดที่เหลือเหล่านี้จะเกิดการบวมชื้น กระต่ายจะไม่ทานส่วนที่เหลือ ดังนั้นในแต่ละมื้ออาหารควรกำหนดปริมาณอาหารเม็ดให้พอดีสำหรับ 1 มื้อเสมอ
- เก็บเศษหญ้าสด/หญ้าแห้งทิ้ง เศษหญ้าเหล่าเมื่อทิ้งไว้ในกรงอาจเกิดการขึ้นราหรือปนเปื้อนกับมูลหรือฉี่กระต่าย
- ทำความสะอาดถาดรองกรง
- เทน้ำเก่าในขวดน้ำทิ้ง แล้วเติมน้ำสะอาดให้เต็ม
- ให้อาหารเม็ด หญ้าสด/หญ้าแห้ง หรือผักสด/ผลไม้ โดยกะปริมาณอาหารให้กระต่ายทานหมดใน 1 มื้อ
          ทุกสัปดาห์
-
 ล้างทำความสะอาดขวดน้ำ กระถางใส่อาหาร ที่แขวนหญ้า ด้วยน้ำสบู่อ่อน ๆ หรือน้ำยาฆ่าเชื้อผสมเจือจาง แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาดอีกครั้ง ต้องมั่นใจว่าไม่มีสารตกค้างหลงเหลือก่อนนำกลับไปใช้เลี้ยงกระต่ายอีกครั้ง
- ทำความสะอาดถาดรองกรง และตากแดดให้แห้งสนิท
          ทุกเดือน
-
 ทำความสะอาดกรง ถาดรองกรง พื้นใต้กรง ผนังกำแพง ในบริเวณที่ใช้เลี้ยงกระต่าย ด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อผสมเจือจาง แล้วล้างออกให้สะอาดก่อนนำกระต่ายกลับเข้ากรง
- ทำความสะอาดอุปกรณ์ที่ใช้เลี้ยงกระต่ายทั้งหมด รวมทั้งของเล่นของกระต่าย

อุปกรณ์ในการเลี้ยง
กรง Cageแบบเลี้ยงในบ้าน 
       
   การเลี้ยงในบ้านนั้นแบ่งออกเป็น 2ประเภทคือเลี้ยงแบบขังกรง และ แบบปล่อยอิสรอิสระ ควรดูเรื่องของพื้นที่ ในบ้านเป็นหลักในการพิจารณาว่าควรเลี้ยงแบบขังกรงหรือแบบปล่อยอิสระ เนื่องจากกระต่ายเป็นสัตว์ฟันแทะที่กัดแทะทุกสิ่งที่ขวางหน้า การเลี้ยงแบบปล่อยอิสระเสี่ยงอย่างมากกับความเสียหายต่าง ๆ ของเฟอร์นิเจอร์ สายไฟฟ้า สายโทรศัพท์ พรม อีกทั้งต้องดูเรื่องของความปล่อยภัยจากสิ่งสกปรกที่ตกอยู่ตามพื้นเมื่อปล่อยกระต่ายด้วย ดั้งนั้นการเลี้ยงด้วยวิธีขังกรงแล้วปล่อยวิ่งเล่นเป็นบางครั้งจะเป็นทางเลือกที่ดีและแก้ไขปัญหาต่าง ๆ นี้ได้ อีกทั้งยังทำให้กระต่ายฉี่หรือถ่ายเป็นที่เป็นทางอีกด้วย
          กรงชนิดที่ใช้เลี้ยงในบ้านนั้นควรเลือกกรงที่ดูแลง่ายวัสดุทำจากลวดหรือสแตนเลส ไม่ควรเลือกใช้วัสดุที่มีการหุ้มพลาสติก เพราะกระต่ายจะกัดแทะวัสดุจนอาจเกิดอันตรายต่อกระกระต่ายได้ ถาดรองควรเป็นพลาสติกแข็งเพื่อง่ายต่อการทำความสะอาด การเลี้ยงกระต่ายในบ้านนั้นจะต้องทำความสะอาดกรง ถาดรองทุก ๆ วัน
แบบเลี้ยงนอกบ้าน
           กรงชนิดที่ใช้เลี้ยงนอกบ้านนั้นควรออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศที่ใช้ตั้งกรงไม่ควรโดนฝนสาด หรือโดนแสงแดดส่องโดยตรงกรงชนิดนี้อาจสั่งทำขึ้นเองเป็นกรงไม้เนื้อแข็ง หรือถ้าหากวางกรงไว้ในที่ที่มีหลังคาป้องกันฝนอย่างดีแล้วก็ไม่จำเป็น ใช้กรงแบบไม้ ใช้กรงสำหรับการเลี้ยงกระต่ายในบ้านตั้งแทนได้ แต่สิ่งที่ควรระวังคือ ฤดูหนาวอากาศจะหนาวเย็นกว่าฤดูร้อน ซึ่งการวางกรงไว้ในพื้นที่ที่มีลมโกรกอาจทำให้กระต่ายล้มป่วยได้
กรงใช้สำหรับเคลื่อนย้ายกระต่าย
       
   กรงชนิดนี้ใช้สำหรับการเคลื่อนย้ายกระต่ายเท่านั้นไม่เหมาะสมที่จะใช้เลี้ยงกระต่ายแบบถาวร ควรมีเตรียมไว้สำหรับกรณีต้องเคลื่อนย้ายกระต่ายทั้งในกรณีฉุกเฉินหรือเมื่อกระต่ายต้องเดินทาง

ขวดน้ำแบบแขวน 
         
  กระต่ายจำเป็นต้องได้รับน้ำสะอาดทุก ๆ วัน ขวดน้ำแบบแขวนข้างกรงนี้เหมาะสำหรับใช้เลี้ยงกระต่าย เพราะดูแลทำความสะอาดได้ง่าย กระต่ายจะดูดน้ำจากฝาจุก ทำให้ไม่เลอะเทอะ หากคุณเลี้ยงกระต่ายสายพันธุ์ขนยาว นี่คืออุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ เพราะการให้น้ำกระต่ายด้วยภาชนะอื่น จะทำให้ขนของกระต่ายสัมผัสกับน้ำ แล้วขนพันกันทั่วทั้งตัว

กระถางใส่อาหาร 

          กระถางใส่อาหารเม็ด ควรเลือกวัสดุที่ทำจาก เซรามิค หรือ กระเบื้องดินเผา เพราะมีน้ำหนักค่อนข้างมาก กระต่ายจะไม่สามารถคว่ำกระถางอาหารเล่นได

กระถางใส่อาหาร 
          กระถางใส่อาหารเม็ด ควรเลือกวัสดุที่ทำจาก เซรามิค หรือ กระเบื้องดินเผา เพราะมีน้ำหนักค่อนข้างมาก กระต่ายจะไม่สามารถคว่ำกระถางอาหารเล่นได

รังคลอด 
         
  รังคลอดเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับแม่กระต่ายตั้งท้องอาจสร้างขึ้นเองโดยใช้ไม้โดยพื้นด้านล่างกรุด้วยตาข่ายช่องเล็ก ๆ เพื่อช่วทิ้งไว้ให้แม่กระต่ายทำรังคลอดก่อนกำหนดคลอดสัก 5 วันหรือประมาณวันที่ 25 ของการตั้งครรภยในการระบายอากาศ ฉี่และมูลของกระต่าย หากไม่สะดวกสามารถใช้ตะกร้าพลาสติกขนาดใหญ่กว่าแม่กระต่ายสักเล็กน้อย

สายรัดอก
      
    ใช้สำหรับพากระต่ายไปเที่ยวนอกบ้าน สำคัญมากเมื่อคุณต้องพากระต่ายเดินทาง หรือพาไปเดินเล่นสวนสาธารณะ ควรเลือกแบบที่ใช้รัดอก ขนาดให้เหมาะสมกับรูปร่างของกระต่ายต้องไม่แน่นและไม่หลวมเกินไป กระชับพอด

หวี แปรง 



          สำหรับการดูแลขนกระต่ายนั้นมีแปรงให้เลือกหลากหลาย กระต่ายขนสั้นต้องการการแปรงขนน้อยกว่ากระต่ายขนยาว การเลือกอุปกรณ์สำหรับแปรงขนกระต่ายควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะขนของกระต่ายเป็นหลัก วัสดุที่ทำจากพลาสติกจะไม่เป็นอันตรายต่อผิวหนังกระต่าย

กรรไกรตัดเล็บ 
         
 กระต่ายเป็นสัตว์ที่มีเล็บแหลมคม เพื่อป้องกันอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากขึ้นจากการอุ้ม ต้องหมั่นตัดเล็บกระต่ายอย่างสม่ำเสมอ ใช้กรรไกรตัดเล็บสำหรับสัตว์ขนาดเล็ก ซึ่งสามารถหาซื้อได้ตามร้านเพทชอปทั่วไป

ของเล่นสำหรับกระต่าย 
        
  ของเล่นสำหรับกระต่ายนั้นมีมากมาย โพรงกระต่ายก็เป็นสิ่งที่กระต่ายชอบมาก กระต่ายส่วนใหญ่จะใช้เวลามุดเล่นหรือเข้าไปไปนอนในโพรงไม้โพรงไม้ที่เราอาจสร้างขึ้นได้เองอย่างง่าย ๆ กระต่ายจะได้ออกกำลังกระโดดขึ้น-ลงบนโพรงไม้อย่างสนุกสนาน แกนกระดาษทิชชู่ก็เป็นสิ่งที่สนุกสนานสำหรับกระต่ายรุ่นที่ซุกซน เศษไม้เก่า ๆ (ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 3 ปี) ก็สามารถทิ้งไว้ให้กระต่ายได้ใช้แทะเล่น แต่ต้องมั่นใจว่าสะอาดและและปลอดภัยสำหรับกระต่าย

วิธีอุ้มกระต่าย
        
  แต่เดิมตั้งแต่โบราณมา เพื่อนๆ หลายๆนคน คงจะได้ยินกันมาเหมือนเรา ว่ากระต่าย ต้องหิ้วหู และก็จดจำมา แต่ที่จริงแล้ว กระต่าย ห้ามหิ้วหูโดยเด็ดขาด เพราะว่าหูกระต่ายบอบบางมาก หากเรามองส่องกับแสงแดด เราจะเห็นเส้นเลือดตรงใบหูเต็มไปหมด นั่นก็เพราะว่าหูกระต่ายบาง การที่เราหิ้วหูนั้น เป็นอันตรายเพราะเท่ากับเราให้หูกระต่ายที่บางๆ แบบนั้นรับน้ำหนักทั้งตัวของกระต่าย ผลคือ ทำให้กระต่ายบาดเจ็บ โดยในบางกรณีกระต่ายจะดิ้น และทำให้กระดูกสันหลังเคลื่อนและเป็นอัมพาตได้

การจับกระต่ายขนาดเล็ก

          การจับกระต่ายขนาดเล็ก สามารถจะจับเนื้อส่วนหลังแล้ว

การจับกระต่ายขนาดกลางและใหญ่



          มีวิธีจับเหมือนสัตว์เล็ก และ เอามืออีกข้างรองตรงบริเวณตะโพก เพื่อช่วยรับน้ำหนัก


การตัดเล็บกระต่าย





          ให้ค่อยๆ เอามือลูบขนของกระต่ายขึ้นไปจากเล็บ หากตรงปลายเล็บมีขนบัง เพื่อให้เห็นได้ชัดยิ่งขึ้นว่า ควรตัดตรงตำแหน่งไหน เพราะว่า กระต่ายบางทีแล้วขนของกระต่ายจะมาปกคลุมตรงเล็บเท้า ทำให้เห็นยาก พยายามมองหาเส้นที่แบ่งระหว่างสีขาวและสีชมพูของเล็บ (มองเทียบกับนิ้วมือของตัวเราเอง ตอนตัดเล็บมือ ก็ได้ค่ะ เทียบของคนประกอบนะคะ จะเข้าใจง่ายยิ่งขึ้น ) เราต้องตัดต่ำกว่า เส้นสีชมพูนี้ลงมาหน่อย (อย่าตัดติดเส้นสีชมพูนะคะ ให้ห่างออกมานิดนึง ไม่งั้นจะติดเนื้อเล็บเกินไป และเจ็บได้) ซึ่งส่วนสีขาวเป็นส่วนของเล็บที่ได้ตัดแล้วไม่เจ็บ อย่าไปตัดโดนส่วนที่เป็นเส้นสีชมพูนี้ เพราะว่า จะเป็นการตัดเข้าเนื้อ ซึ่งมีเส้นเลือดหล่อเลี้ยงอยู่ ทำให้เลือดไหล และกระต่ายจะเจ็บ


อาหารของกระต่าย
หญ้า




          หญ้ามีหลายชนิดที่หาง่ายได้ทั่วไปก็คือ หญ้าขนสามารถจะไปตัดได้จากข้างทาง ลักษณะหญ้าขนก็คือ หญ้าที่เป็นขนๆ
          นอกจากหญ้าขนแล้วก็จะมีหญ้าอีกหลายๆชนิดที่มีจำหน่ายทั่วไปตามท้องตลาด เช่น หญ้าtimothyหญ้าแพงโกล่าและหญ้าอัลฟาฟ่าค่ะโดยที่หญ้าแต่ละชนิดจะมีสารอาหารไม่เหมือนกัน
           หญ้าอัลฟาฟ่า จะมีโปรตีน และ แคลเซี่ยมสูงที่สุด เหมาะสำหรับกระต่ายที่กำลังเจริญเติบโต ที่อายุไม่ถึง 1 ปี หรือกระต่ายที่กำลังอุ้มท้องค่ะ ส่วนหญ้าอื่นๆ ก็ควรจะให้ เพราะว่า มีกากใย หรือไฟเบอร์สูง
           ส่วนหญ้าขนนั้น เราให้เป็นอาหารเสริมไว้ในกรงได้เลย ให้กระต่ายกินทุกวันได้ก็จะยิ่งดี เพื่อรักษาสมดุล์ของระบบย่อยอาหาร เพราะว่า อาหารเม็ดมีกากใยไม่มากพอ ทำให้กระต่ายอ้วน ไม่แข็งแรง การกินกากใยไม่พอ ยังทำให้ระบบย่อยอาหารมีปัญหา และ เกิดอาการ ก้อนขนอุดตันอยู่ในท้อง หรือที่เรียกว่า Hairball ได้



อาหารเม็ด



          อาหารเม็ดสำหรับกระต่ายมีหลายยี่ห้อค่ะ ควรจะเลือกที่อายุไม่เกิน 6 เดือน การกินอาหารเม็ดมากเกินไป จะทำให้กระต่ายอ้วน และไม่แข็งแรงค่ะ ด้วยเหตุนี้เอง เมื่อกระต่ายอายุเกิน 7 เดือน เราควรจะเริ่มจำกัดอาหารเม็ด อย่าให้กินมากเกินไป เวลาเลือกอาหารเม็ดควรจะเลือกที่ มีโปรตีน และกากใยสูง และเลือกที่ไขมันไม่สูง โดยทั่วไปจะนิยมให้อาหารเม็ดวันละ 2ครั้งคือเช้าและเย็น


ผักและผลไม้

           เมื่อกระต่ายอายุน้อยๆ คืออายุต่ำกว่า 3 เดือนยังไม่ควรให้ผักผลไม้ โดยเฉพาะผักที่มีน้ำมาก เพราะจะทำให้ท้องเสีย ซึ่งภาวะท้องเสีย สำหรับกระต่ายนั้น ถือว่าอันตรายมาก เพราะว่ากระต่ายจะเสียน้ำและมีตายในเวลารวดเร็ว หลังจากกระต่ายอายุเกิน 3 เดือน เราสามารถจะเริ่มให้ผักผลไม้ได้ แต่ว่าควรจะค่อยๆให้แค่น้อยๆ ให้กระต่ายปรับตัวก่อน ผักที่กระต่ายกินได้ ก็เช่น แครอท บร็อคเคอรี่ ผักชีฝรั่ง เป็นต้น


ขนม
ขนม หรือที่ฝรั่งนิยมเรียกเก๋ๆ ว่า Treat นั้น สามารถจะให้ได้ แต่ว่าไม่ควรให้บ่อยเกินไป ไม่ใช่ว่าให้กินขนมเป็นอาหารหลัก แบบนี้ไม่ถูก



น้ำ



            น้ำเป็นสิ่งจำเป็นเราต้องมีน้ำสะอาดไว้ในกรงให้กระต่ายกินได้ตลอดเวลา นอกจากนี้ เราควรจะใช้กระบอกน้ำ เพื่อสุขภาพอนามัยที่ดี

3.การเลือกซื้อกระต่าย

สถานที่ขาย
          เบื้องต้นต้องดูเรื่องของความสะอาด หากเป็นร้านจำหน่ายทั่วไปดูได้จากการจัดการร้าน ควรจะสะอาด กระต่ายในร้านควรมีสุขภาพดี มีความตื่นตัวสูง หากเป็นฟาร์ม โรงเรือนต้องถูกสุขลักษณะ มีการจัดการเรื่องของสุขาภิบาลอย่างถูกต้อง กระต่ายในฟาร์มต้องสมบูรณ์ไม่มีตัวใดตัวหนึ่งเป็นโรค เพราะฟาร์มนั้นเลี้ยงกระต่ายร่วมกันมากมายหากตัวใดเป็นโรค โอกาสในการแพร่เชื้อจะสูงตามไปด้วย ควรซื้อกระต่ายจากแหล่งที่เชื่อถือได้ และต้องมีการรับประกันสุขภาพ เช่น ใบรับรองสุขภาพ รวมทั้งต้องมี ใบเพ็ดดีกรีด้วย ซึ่งจะต้องบอกรายละเอียด วันเดือนปีเกิดของตัวกระต่ายเอง รวมถึง รายละเอียดของพ่อแม่ปู่ย่าตายาย 3 รุ่นขึ้นไป



สุขภาพ
ตา
          ดวงตากระต่ายต้องสดใส ปราศจากขี้ตา มองดูสีตาต้องถูกต้องตรงตามมาตรฐานสายพันธุ์และสีตัว ไม่มีโรคเกี่ยวกับสายตา เช่น ต้อกระจก ผิวหนังรอบ ดวงตาต้องไม่เป็นสะเก็ดหรือร่องรอยบาดแผล รวมทั้งไม่มีเชื้อรารอบดวงตาด้วย

จมูก
          โพรงจมูกกระต่ายต้องปกติ ไม่มีร่องรอยของอาการหวัด เช่นมีน้ำมูกเกรอะกรัง ปกติจมูกกระต่าย จะมีลักษณะที่เปียกนิดหน่อย แต่ไม่ควรชื้นแฉะเพราะนั่นคืออาการของไข้หวัด

ปาก ฟัน 
           สิ่งสำคัญที่จะต้องดูเป็นพิเศษก็คือ ปากและฟัน เปิดปากกระต่ายเพื่อตรวจดูฟันซี่หน้า ต้องสบกันพอดี ฟันหน้าคู่บนต้องอยู่ด้านหน้าของฟันหน้าคู่ล่างเล็กน้อย แต่ต้องไม่มีอาการเอียง เก ยื่น บิดเบี้ยว หรือแตกหัก การตรวจฟันกระต่ายสำคัญมากเพราะกระต่ายอายุน้อยจะยังไม่แสดงอาการไม่พึงประสงค์หรือโรคทางพันธุกรรมออกมา แต่เมื่อคุณเลี้ยง ๆ ไป อาการเหล่านี้จะค่อย ๆ แสดงออกมา และจะกลายเป็นฝันร้ายสำหรับคุณไปตลอด เพราะการดูแลกระต่ายที่มีฟันผิดปกติเป็นภาระที่หนักหนาสาหัสมาก คุณต้องตัดฟันกระต่ายเองหรือให้สัตวแพทย์ตัดให้ทุก 2 สัปดาห์ เพราะกระต่ายที่เป็นโรคฟันยื่นจะทานอาหารได้ลำบากมาก

หู
          ตรวจดูใบหูต้องสะอาด มองดูในรูหูต้องไม่มีขี้หูอุดตัน เพราะอาจเป็นรังของตัวเห็บไรได้

ท้อง
           ตรวจดูขนบริเวณใต้ท้องต้องแน่นและปกคลุมมองไม่เห็นหนังท้องใส เพราะอาจเป็น โรคพยาธิ หรือโรคอื่น ๆ ที่ยังไม่แสดงอาการออกมา

เท้า
          ตรวจดูเท้าทั้ง 2 คู่ ต้องเดินและกระโดดเป็นปกติ ไม่มีอาการแบะหรือถ่าง ขนใต้เท้าคู่หลังทั้งสองข้างต้องหนาและไม่มีแผลบริเวณใต้เท้า

เล็บ
          เล็บเท้าต้องมีครบทุกนิ้ว กระต่ายมีนิ้วทั้งหมด 18 นิ้ว ขาหน้ามีข้างละ 5 นิ้ว ในขณะที่ขาหลังมีข้างละ 4 นิ้วเท่านั้น สีของเล็บต้องถูกต้องตามสายพันธุ์ หนังหุ้มเล็บต้องไม่ตกสะเก็ดเป็นแผลหรือเป็นเชื้อรา หรืออักเสบเป็นผื่นคัน

ขน
          กระต่ายสุขภาพดีต้องมีขนเป็นมันสลวยไม่หยาบกร้านหรือหลุดร่วงง่าย สังเกตุจากความแน่นหนาของขน สีสันต้องชัดเจน ผิวหนังใต้ขนต้องไม่มีสะเก็ดแผล ผื่นคัน หรือแข็งกระด้าง คุณสามารถตรวจสอบได้ด้วยตนเอง ใช้มือลูบขนเพื่อตรวจสอบผิวหนังใต้ขนในจุดต่าง ๆ ต้องให้ความสำคัญอย่างยิ่งหากคุณกำลังจะซื้อกระต่ายสายพันธุ์ที่มีขนยาว ขนที่ยาวนั้นสามารถซ่อนสิ่งต่าง ๆ ไว้ได้มากมาย

ลำตัว
          จับบริเวณลำตัวกระต่ายเนื้อต้องแน่น เวลาคลำดูกระดูกสันหลังต้องไม่ปูดโปน กระต่ายต้องไม่อ้วนหรือผอมจนเกินไป เนื้อสะโพกต้องเต็มไปด้วยกล้ามเนื้อ

ลักษณะโดยทั่วไป
         กระต่ายที่สุขภาพดีจะต้องร่าเริง ตื่นตัว และดูแลทำความสะอาดตัวเองอยู่เสมอ กระต่ายที่เป็นโรคจะเก็บตัวนอนนิ่ง ๆ ไม่ค่อยวิ่งซุกซน มีอาการซึม

การดูเพศกระต่าย
         
 กระต่ายที่โตแล้วสามารถที่จะดูเพศได้อย่างชัดเจน โดยที่ตัวผู้จะเห็นลูกอัณฑะอยู่นอกช่องท้องชัดเจนและตัวเมียเห็นอวัยวะเพศอยู่ใต้ทวารหนัก แต่การดูเพศในลูกกระต่ายนั้นจะต้องอาศัยความชำนาญความแม่นยำทางสายตาและแสงสว่างที่เพียงพอ ลูกกระต่ายที่จะดูเพศได้อย่างชัดเจน ควรมีอายุเกิน 2 สัปดาห์วิธีการ จับลูกกระต่ายนอนหงายในฝ่ามือ ใช้นิ้วมือและนิ้วหัวแม่มือของอีกมือหนึ่งลูบ และกดเบาๆที่ข้างๆอวัยวะเพศจะเห็นอวัยวะเพศอยู่เหนือทวารหนัก ถ้าเห็นเป็นแท่งกลมยื่นออกมาแสดงว่าเป็นตัวผู้ส่วนตัวเมียจะเห็นเป็นรอยผ่ายาวจนเกือบถึงทวารหนัก