วันพฤหัสบดีที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2555

11.ภาษากระต่าย

     กระต่ายมีกิจกรรมในชีวิตประจำวันต่าง ๆ มากมาย เช่น ช่วงเวลาของการเล่น ช่วงเวลาของการพักผ่อน ช่วงเวลาของการทำงาน เป็นต้น
          -ช่วงเวลาของการเล่น กระต่ายที่ชอบเล่น จะสนุกกับการวิ่ง การกระโดดโลดเต้น และผลักของเล่นของมัน
          -ช่วงเวลาของการนอน กระต่ายมักจะร่าเริงในช่วงเช้าและเย็น มันจะหลับในช่วงเวลากลางวัน และสิ่งที่มีความสุขสุด ๆ ของมันคือ การชอบงีบหลับในตอนบ่าย 
          -ช่วงเวลาการทำงาน กระต่ายเป็นสัตว์ที่ชอบการทำงานและมีความอุตสาหะ มันพอใจกับการได้ทำงานในบ้านของคุณ ถ้าคุณไม่ให้งานมันทำ มันจะกลายเป็นกระต่ายที่ซึมเศร้า ซึ่งนั่นหมายความว่ามันจะทำลายบ้านของคุณ
ภาษากระต่าย

กระต่ายไม่ค่อยร้องและสื่อสารกันด้วยกลิ่น
          ถึงแม้ว่ากระต่ายเป็นสัตว์สังคม แต่ว่าพวกเค้าไม่มีการทักทายกันที่ส่งเสียงดังเหมือนเดียวกับสัตว์อื่น ๆเช่นสุนัข หรือแมว นั่นเป็นเพราะว่าพวกเค้า เป็นผู้ถูกล่า และการส่งเสียงดังนั้นย่อมเป็นการบอกให้สัตว์ต่าง ๆ ที่เป็นผู้ล่านั้นรู้ถึงตำแหน่งของพวกเค้า ดังนั้นเค้าจะเงียบ และใช้กลิ่นในการสื่อสารกันเสียส่วนใหญ่ค่ะ ซึ่งการใช้กลิ่นสำหรับกระต่ายนั้น สำคัญมากค่ะ และกระต่ายมีจมูกที่ไวมาก นับเป็นการสื่อสาร ที่พัฒนาไปมากที่สุดของกระต่ายก็ว่าได้
          การใช้กลิ่นนั้นก็เหมือนกับเป็นบันทึกลับที่กระต่ายบันทึกเอาไว้ให้แก่กันและกันจะมีเฉพาะกระต่ายที่เข้าใจกันเช่น เค้าสามารถจะบอกกันได้ว่า ที่ตรงนี้เป็นอาณาเขตของเค้าหรือเปล่า โดยไม่ต้องพูดกันซักคำ นอกจากนี้ กลิ่นยังเป็นประโยชน์อย่างมากในการสื่อสารในที่มืด หรือในยามที่ กระต่ายไม่ต้องการให้ตัวเค้าเป็นที่สนใจ ของสัตว์อื่น ๆ โดยเฉพาะผู้ล่า ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งสำหรับสัตว์ที่มีผู้ล่ามากมายเช่นกระต่าย
          นอกจากนี้กระต่ายนั้นก็มักจะไม่ได้แสดงออกอย่างชัดเจนเมื่อเค้ารู้สึกเจ็บปวดหรือหวาดกลัวซึ่งทำให้การแสดงออกต่าง ๆ ของกระต่ายนั้น มักจะไม่ทำให้เจ้าของสังเกต เพราะว่าการแสดงออก ถึงความอ่อนแอ หากอยู่ในธรรมชาติ เค้าจะตกเป็นเป้าโจมตีของศัตรูได้ง่าย และด้วยความที่เค้าไม่ร้อง เลยทำให้เราคาดคะเนได้ยากว่าเค้าต้องการอะไร หรือป่วยหรือไม


การส่งเสียงร้อง
          ตามปกติกระต่ายจะไม่ค่อยส่งเสียงร้องพร่ำเพรื่อค่ะ แต่จะร้องเสียงดังเมื่อเจ็บปวด
อาการก้าวร้าว
          ปกติแล้วกระต่ายจะอ่อนโยนสุภาพแต่หากเค้ากลัวมากๆเค้าก็อาจจะมีอาการก้าวร้าวเช่นกัดหรือถีบได้หากเป็นแบบนี้แปลว่าเค้าไม่ไว้ใจเราค่ะ เราต้องอาศัยเวลาเพื่อให้เค้ารู้ว่า เรารักและจะไม่ทำร้ายเค้า พยายามอย่าทำให้เค้าตกใจกลัว
อาการแสดงความเหนือกว่า
          กระต่ายบางตัวจะชอบแสดงความเหนือกว่าจะข่มกระต่ายด้วยกันรวมแม้กระทั่งเจ้าของเราจะสังเกตเห็นง่ายๆเช่น เค้าพยายามฉี่รดที่นอนเรา หรือว่า พยายามฉี่บนเก้าอี้ตัวโปรดของเรา รวมแม้กระทั่ง การไปฉี่รดมุมกรงของกระต่ายตัวอื่นๆ พฤติกรรมนี้ เป็นการประกาศถิ่นค่ะ ว่าถิ่นนี้เป็นของเค้า ไม่ใช่ของเรา เหมือนๆกับเด็กที่เอาปากกาเมจิก เที่ยวไล่ขีดบริเวณอาณาเขตของตัวเองบนพื้นห้องนั่นแหละ เราสามารถจะแก้นิสัยนี้ได้ค่ะ โดยหากเค้าฉี่รดที่ๆไม่เหมาะสม เช่น บนเตียง เราก็ต้องกันไม่ให้กระต่ายขึ้นไปบนเตียง เป็นต้น โดยเมื่อเค้าพยายามจะเข้าไปในเขตนั้นเมื่อไร เราก็จับเค้าไปวางไว้ที่อื่นตลอด เค้าจะรู้เองในที่สุด
กระทืบเท้า
          เมื่ออยู่ตามธรรมชาติการกระทืบเท้าลงบนพื้นคือสัญญาณที่แสดงถึงความวิตกหรือหวาดกลัวของพวกเค้าโดยการ กระทืบขาหลังของเค้าลงที่พื้น การกระทำเช่นนี้ไม่เป็นเพียงการเตือนเพื่อน ๆ ของเค้าที่อยู่บนพื้นดิน ถึงความไม่ชอบมาพากลเท่านั้น แต่เสียงสะท้อนที่ส่งไปยังพื้นดิน ยังเป็นการเตือนกระต่ายที่อยู่ในรังด้วย ว่าอย่าขึ้นมาบนพื้นดิน
          ท่าทางคือกระต่ายจะกระทืบเท้าหลังลงบนพื้น หรืออาจจะทำการยกขาหลังทั้งคู่ดีดขึ้น แล้วกระแทกลงกับพื้น และบางทีก็ฉี่ไปด้วย หลายๆครั้งท่าทางเหล่านี้ ก็ยังบ่งบอกถึงอาการไม่ชอบใจค่ะ อาการนี้เหมือนกับเด็กค่ะ ที่กระทืบเท้าไปมาเวลาที่โดนขัดใจ ไม่พอใจ
เราจะเห็นกระต่ายทำท่านี้เมื่อเค้าวิตกกังวลหรือเครียดกระต่ายบางตัวทำท่านี้เมื่อเราพยายามจะเข้าไปไล่ตะครุบตัวเค้า หรือ บางทีเราจะเจอกระต่ายทำท่านี้เมื่อเราย้ายเค้ามาอยู่ในกรงที่คับแคบ กว่าเดิม อาการแบบนี้บางครั้งก็เป็นการข่มขู่ไปด้วย อย่างกระต่ายบางตัวที่ไม่คุ้นเคยกับคน และกลัวคนมาก หากเค้าทำท่านี้แล้วเรายังพยายามเข้าไปจับ เค้าอาจจะต่อสู้
หรือบางครั้งการกระทืบเท้าก็เป็นการแสดงให้เราเห็นว่าเค้าไม่พอใจอะไรบางอย่างและพยายามเรียกร้องให้เราทำอะไรให้เช่นอยากได้อาหารเพิ่มเป็นต้น
ตำแหน่งของหูและหาง
          กระต่ายจะใช้ร่างกายในการสื่อสารกับเราเมื่อกระต่ายกำลังจะจู่โจมมันจะยืดตัวขึ้นตรงและยืดหางออกแล้วก็กระดกหูไปด้านหลัง แต่หากว่า เค้าเอาหูลู่ไปทางด้านหลัง แต่นั่งอยู่ไม่ได้ยืดตัวขึ้นตรง แปลว่า กำลังตั้งรับ และกระต่ายที่ตั้งรับอยู่อาจจะหาจังหวะจู่โจมกลับได้
การทำเครื่องหมาย ด้วยกลิ่นใต้คาง

          กระต่าย โดยเฉพาะเพศผู้ เราจะเห็นบ่อยว่าเค้าชอบเอาคางถูกับโน่นนี่ ไม่ว่าจะเป็นรอบๆบ้าน หรือว่า กับของในกรง กระต่ายทั้งสองเพศต่างก็มีลักษณะนิสัยนี้เหมือนกัน แต่กระต่ายตัวผู้นั้นอาจจะกระตือรือร้นมากหน่อยและอาจมีคางที่ชื้นและเหนียว เนื่องจากการหลั่งสาร ของต่อมกลิ่นของเค้าซึ่งอยู่บริเวณนั้นเค้าทำเครื่องหมายบ่งบอกพื้นที่ของเค้า เพราะว่ากระต่ายจะมีต่อมกลิ่นอยู่บริเวณหัว และเค้าจะเอาต่อมกลิ่นนี้ ไปถูกับสิ่งของ ที่เค้าคิดว่าอยู่ในอาณาเขตเค้า เพื่อประกาศให้กระต่ายตัวอื่นรู้ว่าเค้าเป็นเจ้าของ นอกจากนี้ยังใช้เป็นการจำแนกเพื่อนสมาชิกกระต่าย ที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันอีกด้วย เหมือน ๆ กับการที่สมาชิกในกลุ่มเดียวกัน จะมีป้ายชื่อหรือเสื้อผ้าที่บ่งบอกถึงกลุ่มที่ตัวเองอยู่วิธีการนี้ยังเป็นการทำให้กระต่ายมั่นใจว่า เค้ากำลังอยู่กับเพื่อน ๆ ของเค้าเอง ในอาณาเขตของเค้าเอง และยังช่วยขัดขวางการรุกรานอีกด้วย
การอึไปรอบๆ
          นอกจากนี้กระต่ายยังสร้างกลิ่นไว้กับมูลของพวกเค้าด้วย โดยจะทิ้งมูลเอาไว้ในขณะที่เดินทางไปรอบ ๆโดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาหาอาหาร (มูลของกระต่ายนั้นเป็นปุ๋ยอย่างดี เนื่องจากมีแร่ธาตุไนโตรเจนสูง) กระต่ายยังจะขุดดินบริเวณไกล้ ๆ กับขอบอาณาเขตของเค้า แล้วทิ้งมูลเอาไว้เพื่อเป็นสัญลักษณะอย่างไรก็ตาม นิสัยในการขับถ่ายอย่างหนึ่งของกระต่ายที่น่าประทับใจก็คือการใช้พื้นที่ที่เป็นห้องน้ำ ซึ่งเป็นนิสัยตามธรรมชาติที่ทำให้เราสามารถสอนกระต่ายให้เข้าห้องน้ำได้ค่อนข้างง่ายตามธรรมชาติ ห้องน้ำของกระต่ายจะถูกใช้โดยสมาชิกทุกตัวภายในกลุ่ม และอาจถูกสร้างขึ้นมาจาก กองมูลของพวกเค้า โดยทั่วไปห้องน้ำเหล่านี้จะอยู่ในบริเวณที่สูงห้องน้ำนี้จะเป็นสัญลักษณ์ให้กับกระต่ายทั้งในด้านการมองเห็นและกลิ่น สำหรับเหล่ากระต่ายแล้วห้องน้ำนี้ก็เหมือนเป็นการประกาศว่า พื้นที่แห่งนี้เป็นของกระต่ายอีกกลุ่มไหน เป็นการเตือนหาก พวกเค้ากำลังเข้าใกล้อาณาเขตของกระต่ายอีกกลุ่มหนึ่ง
การทำเครื่องหมายด้วยกลิ่นปัสสาวะ
          วิธีนี้อาจเป็นวิธีที่กวนใจเราที่สุดของกระต่ายก็คือการปัสสาวะกระต่ายนั้นไม่เหมือนกับสุนัขหรือแมวที่จะปัสสาวะใส่วัถุต่าง ๆ ในอาณาเขตของตัวเองเท่านั้น แต่ว่ากระต่ายนั้นจะปัสสาวะใส่กันและกันและในบางครั้งยังจะปัสสาวะใส่คนด้วย ถึงแม้ว่าจะไม่บ่อยก็ตาม นิสัยเหล่านี้จะพบบ่อยในกระต่ายตัวผู้ การปัสสาวะ บางครั้งจะปัสสาวะจะหมายความถึง กระต่ายที่เป็นลูกน้องหรือผู้รุกราน แต่ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นส่วนหนึ่งในขั้นตอนการขอความรักการขอความรักนั้นเป็นขั้นตอนที่สำคัญสำหรับกระต่าย และกระต่ายตัวผู้ก็จะเอาจริงเอาจังกับมันมากทีเดียวเวลาที่กระต่ายตัวผู้พบตัวเมียที่ถูกใจ อันดับแรกเค้าจะทำการขอความรักโดยการเดินตามตัวเมียไป หลังจากนั้นอาจเป็นการเดินเข้า ๆ ออก ๆ จากตัวเมียในขณะที่ยกหางของมันขึ้น หากกระต่ายตัวเมียยังไม่สนใจเค้าจะเรียกร้องความสนใจมากขึ้น โดยการวิ่งเลยตัวเมียไปและปัสสาวะใส่กระต่ายเลี้ยงบางส่วนจะเรียนรู้ว่าวิธีนี้จะเป็นวิธีที่พวกเค้าสามารถใช้เรียกร้องความสนใจจากเจ้าของได

เลีย
          เคยเห็นแม่กระต่ายไหมคะเค้าจะแสดงความรักกับลูกๆด้วยการเลียค่ะหากกระต่ายเลียใครล่ะก็เป็นการบอกรักคนๆนั้นค่ะ
การเอาหัวดันเรา
         
 กระต่ายจะเอาส่วนจมูกดันเราเพื่อเรียกร้องความสนใจค่ะ หรือเวลาที่เค้าพยายามข่วนพื้น โดนใช้ขาหน้า ท่าทางเหล่านี้ก็เพื่อให้เราสนใจค่ะ(คล้ายๆการสะกิดของคนนั่นหละค่ะ) แต่บางครั้งท่าทางคล้ายๆกันนี้ ้ก็เป็นการบอกให้เราหยุดได้แล้ว เช่น หากเรายัดเยียดอาหารกระต่าย แต่กระต่ายอิ่มแล้ว กระต่ายอาจจะพยายามเอาช่วงจมูกดันมือเราออกไป มันเป็นการบอกเราว่า" ขอบคุณแต่ว่า พอได้แล้วหละ หยุดเถอะ"
การงับหรือแทะๆ
          บางครั้งกระต่ายจะงับเรา เพื่อเรียกร้องให้เราสนใจเค้า หรืออยากให้เราทำอะไรบางอย่างให้ การงับไม่ใช่การกัดนะคะ คนละแบบกับการกัดเพื่อต่อสู้ค่ะ ซึ่งบางทีเค้าก็ไม่รู้หรอกค่ะ ว่าการทำแบบนั้นบางครั้งทำให้เราเจ็บ เค้าเพียงแต่ต้องการเรียกร้องความสนใจค่ะ เชื่อหรือไม่คะ ว่ากระต่ายไม่ได้ตั้งใจจะทำให้เราเจ็บค่ะ ซึ่งอันนี้แก้ได้โดย หากเราเจ็บและร้องออกมาทุกครั้งที่เค้างับแรงๆ กระต่ายจะเรียนรู้เองว่าจะต้องงับเบากว่าเดิม หรือไม่ก็เลิกงับไปเลยก็มีค่ะ แต่บางครั้งอาการงับนี่ก็เป็นการแสดงให้เห็น ถึงความเหนือกว่าค่ะ เช่นหากกระต่ายพยายามงับเราเมื่อเรา นั่งบนเก้าอี้ตัวหนึ่ง นั่นคือกระต่ายพยายามจะบอกว่า "เก้าอี้นี่เป็นที่ของกระต่ายนะ และคุณควรจะออกไป" วิธีแก้ก็คือ ให้ร้องค่ะ ให้กระต่ายรู้ว่าเราเจ็บ และวางกระต่ายลงบนพื้น และค่อยๆเอามือกดหัวกระต่ายลงเบาๆ อาการนี้เป็นอาการบอกกระต่ายว่า "เราเหนือกว่า เราคือเจ้านายนะ" ให้ทำแบบนี้หลายๆครั้งจนกว่ากระต่ายจะ เลิกท้าทายเรา หากทำยังงั้นแล้ว เค้ายังไม่เข้าใจ ก็ให้เราเอาเค้าไปไว้ในกรงซักพัก เพื่อให้กระต่ายรู้ได้เองว่า "ไม่ใช่หรอก ที่ของกระต่ายคือในกรงต่างหาก"
นอนเหยียดยาว

          หากกระต่ายนอนโดยยืดขาออกจนสุด หูตกลงมาราบกับลำตัว ตาหรี่ลงครึ่งนึง แปลว่าอยากจะนอนพักผ่อน โดยไม่ต้องการการรบกวนค่ะ
นอนตะแคงหรือหงายหลัง
          ชีวิตของมันช่างดีมาก ๆ เลย

กัดทึ้งขนตัวเอง
          หากกระต่ายเพศเมีย กัดดึงขนของตัวเองออกมาสะสมไว้ในปาก แล้วเอาไปซุกไว้ตามที่ต่างๆ วิ่งไปวิ่งมารอบ ๆ หรือคาบสิ่งของหรือเศษผ้ามากองไว้ แปลว่ากระต่ายเตรียมจะทำรังคลอดลูกที่นั่น
ยืนด้วยขาหลัง ยกขาหน้าขึ้นกลางอากาศ
          เป็นท่าขอค่ะเช่นกระต่ายอยากจะได้อะไรที่อยู่ในมือเราหรืออยู่สูงกว่าเช่นขออาหาร
งับสิ่งของแล้วเหวี่ยงขึ้นลงไปมา
          เป็นการแสดงอาการหงุดหงิดค่ะ
อาการหาคู่
          กระต่ายที่โตขึ้นมา มีฮอร์โมนมาผลักดัน แล้วพยายามหาคู่ผสมพันธุ์ แต่ว่า ไม่มีคู่ กระต่ายจะหงุดหงิดค่ะ แลแสดงอาการก้าวร้าวออกมา ส่วนใหญ่จะแสดงอาการคือ วิ่งวนไปมารอบๆเท้าเจ้าของ พยายามปีนเจ้าของหรือสิ่งของ และมีกัดเจ้าของในบางครั้ง ซึ่งอาการเหล่านี้แก้ไดยการ ทำหมันค่ะ
การขุด
         การขุดเป็นนิสัยตามธรรมชาติค่ะเพราะว่ากระต่ายจะอาศัยอยู่ในโพรงเค้าจึงมักจะขุดโน่นนี่แต่หากการขุดของกระต่ายทำให้สิ่งของในบ้านเสียหาย เราสามารถจะแก้ได้โดย เบี่ยงความสนใจของเค้า และเอากล่องเปล่ามาให้เค้าค่ะ และวางเค้าลงไป ให้เค้าขุดกล่องเปล่าเล่นแทน พอเค้าขุดกล่องเปล่าเราก็ให้ขนมเค้า เป็นรางวัล และขัดขวางเค้าทุกครั้งที่เค้าพยายามจะขุดสิ่งของหรือบริเวณที่เราไม่อยากให้ขุด ทำแบบนี้ไปเรื่อยๆ เค้าจะเข้าใจเองค่ะ ว่าหากอยากขุดก็ควรจะขุดในกล่องที่เราเตรียมไว้ให้
อาการหมอบกดตัวเองลงกับพื้น
          กระต่ายกดตัวเองลงกับพื้น เป็นอาการที่เกิดจากความกลัวค่ะ เหมือนเรา เวลาเรากลัวมากๆเราจะพยายามหดตัวให้เล็กที่สุด กระต่ายก็หมือนกันค่ะ
การปีนขึ้นหลังตัวอื่น
          กระต่ายที่โตกว่าบางครั้งจะปีนขึ้นไปบนหลังตัวอื่นแม้ว่าบางทีจะเป็นเพศเดียวกันนั่นไม่ได้แปลว่ากระต่ายเป็นเกย์หรอกนะคะ แต่ท่าการปีนที่คล้ายการผสมพันธุ์นี้ เป็นอาการข่มตัวอื่นค่ะ กระต่ายตัวที่ปีนขึ้นหลังตัวอื่นทำแบบนี้ เพื่อเป็นการบอกว่า "ฉันเหนือกว่า"
นอนเอาหัวอิงกัน
          หากกระต่ายนอนพิงกัน เองหัวเกยกับอีกตัว แปลว่ากระต่ายทั้งคู่เข้ากันได้ดีค่ะ





10.โรคของกระต่าย

กระต่ายป่วยหรือไม่กระต่ายจะซึม
      1. ไม่เดินมาหาเหมือนทุกทีนอนอยู่มุมกรงไม่กินอาหาร
 อึของกระต่าย 
      2. ตรวจดูว่าอึเหลวหรือไม่หรือว่าไม่มีอึเลยหรือเปล่าหากไม่มีอึเลยในกรง หรือ
อึน้อยผิดปกติ มีโอกาสสูงนะคะ ที่กระต่ายอาจจะเกิดการอุดตันในทางเดินอาหาร ซึ่งอึของกระต่ายบอกอะไรได้หลายๆอย่างเลยทีเดียว หากอึของกระต่ายมีขนาดเล็กลง หรือว่า มีสิ่งแปลกปลอมผสมอยู่เช่น มีขนติดกับก้อนอึมากๆ เราควรจะต้องระวังให้ดีเลยค่ะ อาจจะพาไปให้หมอ เอ็กซเรย์ดูก็ได้ค่ะ ว่ามีการอุดตันหรือไม่ตัวร้อน
       3. เราจะวัดอุณหูมิร่างกายของกระต่ายตรงหูนะคะ หากว่า หูของกระต่ายร้อนผิดกว่าทุกที แปลว่า ไม่สบายค่ะ (ลองเทียบกับหูกระต่ายตัวอื่นๆที่เลี้ยงก็ได้ค่ะ) ส่วนหากหูเย็นผิดปกติ แปลว่า อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงมากๆ ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณบอกถึงอาการเจ็บป่วยได้นะคะหายใจลำบาก
       4. หายใจมีเสียงดังฟึ่ดๆ ผิดปกติ แปลว่า อาจจะเกิดอาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจค่ะ หรือไม่อาจจะเกิดจากการแพ้อะไรบางอย่าง เช่น ขี้เลื่อยปูพื้นกรงที่ใช้อยู่น้ำตาไหล
อาจจะเกิดจากตาอักเสบ หรือมีการติดเชื้อที่ตาเป็นต้นคอเอียง เป็นไปได้ค่ะ ว่าอาจจะตกจากที่สูง หรือไม่ก็เกิดการอักเสบในช่องหู หรือไม่ก็ติดเชื้อจากอาการหวัด แล้วลามเข้าสู่หูชั้นใน อันนี้อันตรายมา
       5. ขาแป หรือแบะออก บางครั้งอาการนี้ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่เกิดนะคะ แต่เกิดจากการเลี้ยงกระต่ายบนพื้นผิวที่ลื่นมากตลอดเวลา หากกระต่ายเริ่มมีอาการแบบนี้ ควรจะเปลี่ยนให้ไปอยู่ตรงพื้นที่ไม่ใช่ผิวเรียบ

       6. มีน้ำไหลออกมาเลอะตรงคาง หรือว่า ทำท่าอยากอาหารแต่กินอาหารไม่ได้เป็นไปได้ว่ากระต่ายมีปัญหาที่ฟันเช่นฟันยาวฟันเอียงทำให้ควบคุมน้ำลายไม่ได้และกินอาหารไม่ได้ หรือบางรายอาจจะติดเชิ้อลงไปที่กรามอีกด้วย หากกระต่ายฟันผิดปกติควรจะพาไปหาหมอนะคะ เพราะว่า ไม่อย่างนั้นกระต่ายจะกินไม่ได้และตายในที่สุด อันที่จริงเราควรจะหมั่นตรวจฟันอยู่เรื่อยๆนะคะ เพราะว่า หากเราพบว่ากระต่ายฟันยาว หรือเอียงผิดปกติแต่เนิ่นๆ แล้วกระต่ายได้รับการตัดฟัน และดูแลอย่างดี ฟันก็อาจจะเข้าสู่รูปเดิมได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาเร็วพอ ฟันของกระต่ายจะยิ่งเกยกัน และเบี้ยวเสียรูปมากยิ่งขึ้น ทำให้ยิ่งรักษาได้ยากค่ะนอกจากนี้อาการน้ำลายไหลออกมา อาจจะบ่งบอกถึงการกินพืช หรือสารเคมีที่มีพิษเข้าไปอีกด้วย
       7. ฉี่เป็นเลือด  กระต่ายที่ฉี่เป็นเลือดนั้นมีน้อยมากๆส่วนใหญ่พอเอาเข้าจริงๆกลายเป็นสีในพืชที่กระต่ายกินเข้าไปค่ะไม่ได้เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยเลย แม้แต่นิดเดียวปกติแล้วฉี่ของกระต่ายจะมีสีเหลืองอ่อนๆ การที่ฉี่เป็นสีแดงนั้น จะเกิดจากฉี่มีสีค่อยๆเข้มขึ้นค่ะ จาก สีเหลืองอ่อน ไปเป็นเหลืองเข้ม แล้วเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นสีส้ม สีแดง ส่วนใหญ่เกิดจาก การกินผักที่มีเบต้าแคโรทีนมากๆ อย่างเช่น พวกแครอท เป็นต้น ในกรณีที่กินยาปฏิชิวนะก็มีผลค่ะ หรือบางครั้ง การกินน้ำน้อยก็มีส่วน เพราะว่าฉี่เข้มข้นขึ้น ทำให้มีสีเข้มขึ้นตามปกติแล้ว ภายในไม่เกิน 3 วัน กระต่ายจะฉี่เป็นสีเดิม
       8. หวัด กระต่ายจะมีอาการน้ำมูกไหลและจามแต่บางทีคนมักจะสับสนกับอาการที่อาจจะเกิดจากฝุ่นหรือน้ำเข้าจมูกดังนั้นเมื่อกระต่ายมีอาการจามเหมือนคน หรือมีน้ำมูกไหล วิธีตรวจง่ายๆ ว่าเป็นหวัดหรือไม่ โดย ให้ลองตรวจที่เท้าหน้าของกระต่าย ถ้าหากพบว่า ขนติดกัน หรือ บริเวณนั้นเปียก แล้วล่ะก็ เดาได้เลยค่ะ ว่าเป็นหวัด เพราะว่ากระต่ายจะใช้เท้าหน้าในการถูจมูกน้ำมูกค่ะ ตอนแรกน้ำมูกจะใสก่อน ต่อมาจะขุ่น และหากไม่ได้รับการรักษา อาการจะลุกลามไปกลายเป็น ปอดอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด


เชื้อรา

          จะเริ่มจากการติดเชื้อรานี้ ที่ส่วนหัว และ แพร่กระจายไปยังขา และเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณนิ้วเท้า หลังจากนั้น กระต่ายจะเริ่มมีแผลเกิดขึ้นตรงจุดที่ติดเชื้อรา และ โดยการติดเชื้อราจะมีขอบเขต เป็นวง และผิวหนังจะมีการระคายเคือง อาจจะมีอาการคัน และ เกิดสะเก็ดเป็นแผ่นแข็ง และขนร่วง เนื้อเยื่อทีอยู่ใต้สะเก็ดมักจะ มีอาการอักเสบ และ มีการแตกปริของผิวหนัง
Ear Mite หรือ เรียกว่า ปรสิตที่อยู่ตรงรูหูลองกลับไปส่องดูในรูหูกระต่ายดูนะคะ ว่ามีก้อนคล้ายๆกับขี้ผึ้งสีน้ำตาลเข้มๆ เกาะอยู่ที่ในใบหูของกระต่ายหรือเปล่า 

โรคกระต่าย
       1. พาสเจอร์เรลโลสิส ( Pasturellosis )
          เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา ( Pasturella multocida )ซึ่งทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการแตกต่างกันตามอวัยวะที่เกิดติดเชื้อ ดังนี้
          หวัด กระต่ายจะจามบ่อยๆมีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่ม
และมีน้ำมูกติดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าเช็ดหน้าเช็ดจมูก 

           ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง
ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมีโอกาสรอดเพียง 75%
ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบสัตวแพทย์ทันที 
          ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื่องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85 %)หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฏิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย
          อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อจับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ
การอักเสบมักลุกลามไปที่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรตัดทิ้ง
 

       2. มดลูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบมีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทางอวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื่อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขนาดใหญ่
การรักษาทำได้ยากมากและกระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรตัดทิ้ง

       3. สแตฟฟิลโลคอคโคซีส ( Staphylococcosis ) โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส
( Staphylococcus aureus ) ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการ ดังนี้

          ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือก
ส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก
ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาดแล้วทาด้วยทิงเจอร์ ไอโอดีน 

          เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านมจะมีสีคล้ำ เย็น และแข็งถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าไม่แน่ใจควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์
          ข้ออักเสบ เกิดจากมีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกงามเข้าสู่ข้อเท้า ทำให้ข้อเท้าบวมแดง เจ็บปวดกระต่ายอาจมีไข้และมักพบบาดแผลที่ฝ่าเท้า การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน 
ถ้ามีหนองในข้อจะรักษาได้ยาก และอาจจะเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรงอย่าให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย

       4. โรคบิด (Coccidiosis) เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac , E. irresdua
, E. magna ฯลฯ การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ อาการ ถ้าเป็นน้องจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่าย จะทำให้น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน
และอาจทำให้ตายได้ การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา ( Sulfa ) หรือแอมโปรเลียม ( Amprolium )

       5. โรคทิซเซอร์ (Tizzer's disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ แบซัลลัส ฟิลลิฟอร์มิส ( Bacillus pilliformis )
มักพบในกระต่ายที่มีอายุ 7 - 12 สัปดาห์มากที่สุด อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออกจากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าซัยคลิน (Oxytetracyclin)
ละลายน้ำให้กิน

       6. โรคติดเชื้อ อี.โค ไล (Colibacillosis) เกิดจากการเพิ่มจำนวนเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร กระต่ายจะมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงและตายได้ การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้
ให้น้ำเกลือ เพิ่มอาหารหยาบ

       7. เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia) เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตายอย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไล
       8. ไรในหู (ear manage or ear canker) เกิดจากไรพวกโซรอบเตส แคนิคุไล (Psoroptes caniculi)
อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้นๆที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตดีๆจะพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก กระต่ายที่เป็นโรคนี้จะคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางครั้งเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนอง และมีกลิ่นเหม็น การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหู เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ( H2O2 )แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความสะอาดกรงและอุปกรณ์การเลี้ยงเสมอๆ

       9. ไรที่ผิวหนัง ( skin manage ) เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei , var. cuniculi, Notedes cati var. caniculi อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหูการรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษาสัตวแพทย์
การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู


วันอาทิตย์ที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2555

9.กระต่ายคลอดลูก

8.การชำแหละกระต่าย

7.สารคดีกระต่าย

6.เรียนรู้ก่อนเลี้ยงกระต่าย

วันจันทร์ที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2555

5.การสืบพันธุ์ของกระต่าย

อายุของกระต่ายที่พร้อมแก่การผสมพันธุ์ 
          กระต่ายเพศเมีย จะเริ่ม ยอมรับการผสมพันธุ์ ตั่งแต่อายุประมาณ 3 เดือนครึ่ง ซึ่งทั้งนี้ % ของการผสมติด จะมีน้อยกว่า กระต่ายที่
มีอายุประมาร 4 เดือน - 4 เดือนครึ่ง แต่ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของกระต่ายด้วยครับ เพราะ กระต่ายสายพันธุ์ ธรรมดา กับกระต่ายสายพันธุ์แคระ จะมีการเจริญเติบโตเต็มวัยไม่พร้อมกันซึ่ง ทางที่ดีเราควรให้กระต่ายของเรานั้น เริ่มการผสมพันธุ์ ตั่งแต่อายุประมาร 6-8 เดือนขึ้นไปซึ่งกระต่ายที่ ได้รับการผสมในช่วง 3-4 เดือนแรก จะมี% การผสมติดจน้อยครับ และ ถ้าเกิดการผสมติด ลูกกระต่ายที่คลอดออกมานั้น อาจจะไม่แข็งแรง หรือ แม่กระต่ายนั้น อาจจะมีน้ำนมไม่เพียงพอกับลูกกระต่าย และ อาจจะทำให้ลูกกระต่ายที่เกิดมานั้น ตายได้ครับ ซึ่ง ลูกกระต่ายที่เกิดจากแม่กระต่ายในช่วงอายุดังกล่าว มี % การตาย สูงการที่แม่กระต่ายท้อง ก่อน หรือ มีลูก ในช่วงผสมติด 3 - 4 เดือนแรกเมื่อแม่กระต่าย คลอดอกมา อาจจะทำให้การเจริญเติบโตของ กระต่ายนั้น หยุด หรือ ช้าลงไป ดังนั้นจึงอาจจะทำให้กระต่ายนั้น โตไม่ได้เต็มที่


ระยะของการตั้งท้องของกระต่าย 
          กระต่ายในแต่ละสายพันธุ์ และ ในแต่ละ ตัว แต่ละคลอกนั้นจะใช้เวลาในการในการตั้งท้องไม่เท่ากันนอกจากนี่ ก็จะขึ้นอยู่กับ ความสมบูรณ์ สภาพแวดล้อม และ จำนวนลูกของแม่กระต่ายด้วยครับ โดยกระต่ายที่มีลูกมากก็จะมีระยะ ของการตั้งท้องสั้นกว่ากระต่าย ที่มีจำนวน ลูกน้อยกว่าซึ่ง หลังจากกระต่ายตัวเมียได้รับการผสมกับกระต่ายตัวผู้ กระต่ายตัวเมียที่ได้รับการผสมแล้วจะ ใช้เวลาในการตั้งท้อง โดยเฉลี่ยประมาณ 30 - 32 วัน ครับ และ กระต่ายบางตัวก็ อาจจะใช้เวลาในการตั้งท้องเพียง 29 วัน หรือ มากกว่า 32 วัน ครับ แต่โดยปกติแล้วกระต่าย จะใช้เวลาในการตั้งท้องไม่ เกิน 35 วันในระยะที่กระต่ายใกล้คลอดกระต่าย ในระยะนี้ กระต่าย จะเริ่มมีการ สร้างรัง อาจจะ โดยการกัดขนของตัวเอง ในส่วนของบริเวณ ของ ส่วนท้อง ต้นขา และ เหนียงคอ เพื่อ เอามาใช้มาเป็นวัสดุ ในการรอง รังคลอดครับ ซึ่งปริมาณ ของ ขน หรือ วัสดุที่ใช้สำหรับ รองรังคลอด ของกระต่าย จะมีมากหรือ น้อยก็ขึ้นอยู่กับ นิสัยของกระต่ายแต่ละตัว หรือจากสายพันธุ์ และ ประสบการณ์ ของแม่กระต่าย



แม่กระต่ายออกลูก 


แยกตัวผู้
          
ถ้ายังไม่ได้แยกตัวผู้ออก รีบแยกออกก่อนตัวเมียจะคลอดลูก แต่ของใครออกลูกมาแล้วโดยที่ยังไม่ได้แยกตัวผู้ ก็อย่าปล่อยเลยตามเลยนะคะ รีบแยกตัวผู้ออกซะดีๆ



เตรียมรังคลอด
          ในกรงกระต่ายมีรังคลอดหรือยังคะ ที่จริงควรใส่ไว้ในตั้งแต่แม่กระต่ายยังไม่ออกลูก ค่ะ ถ้ายังไม่ได้เตรียมไว้ ก็ควรจะรีบไปหามาค่ะ แม่กระต่ายบางตัวจะเข้าไปออกในรังที่เราเตรียมไว้ให้ หลังจากแม่กระต่ายออกลูกแล้ว เค้า
จะเลียทำความสะอาดลูก ซึ่งหลังจากแม่กระต่ายทำความสะอาดลูกแล้ว เราก็สามารถเข้าไปตรวจดูได้ค่ะ ว่ามีลูกกระต่ายตายบ้างหรือไม่ ถ้าพบว่าตายก็ควรจะเก็บออกค่ะ เพราะว่าถ้าปล่อยไว้ อาจจะทำให้ฝูงมดมาค่ะ ทีนี้ลูกกระต่ายตัวอื่นๆจะโดนมดกัดตายตามไปด้วยแต่ถ้าแม่กระต่ายไม่ยอมออกในลูกรังคลอดที่เราเตรียมไว้ให้ เราก็สามารถจะจับลูกกระต่าย ไปไว้ในรังคลอดได้ค่ะ การปล่อยลูกกระต่ายไว้นอกรังคลอดไม่ดีหรอกค่ะ เพราะว่า ขาลูกกระต่าย หรือตัวลูกกระต่าย อาจจะตกลงไประหว่างซี่กรง และโดนแม่เหยียบตายได้ ซึ่งกระต่ายไม่มีปัญหาเรื่องการผิดกลิ่นหรอกค่ะ ไม่ต้องห่วงค่ะ เราสามารถจะจับลูกกระต่ายได้ค่ะ แต่หากใครกลัวมากๆ จะเอามือไปถูๆที่ขนแม่กระต่ายก่อนค่อยมาจับลูกกระต่ายเพื่อความสบายใจ ก็ไม่ผิดกติกาค่ะ



จัดกรงให้ปลอดภัยแก่ลูกกระต่าย
         
 ในกรณีที่แม่กระต่ายไม่ยอมทึ้งขน แล้วอากาศค่อนข้างเย็นเนี่ย เราอาจจะช่วยลูกกระต่ายให้มีที่นอนนุ่มๆอุ่นๆได้โดยไปหาสำลีแบบก้อนๆค่ะ ที่ขายตามโลตัสเป็นก้อนใหญ่ๆ เอามาปูในกรงก็ได้ค่ะ ลูกกระต่ายจะซุกตัวเข้าไปนอนเหมือนกับเป็นขนของแม่ค่ะ (กรณีที่ลูกกระต่ายที่แม่ไม่เลี้ยง ก็เอาสำลีมาปูได้ ไม่ผิดกติกาค่ะ)นอกจากนี้ ตามพื้นกรงที่เป็นซี่ๆ ลูกกระต่ายอาจจะตกลงไประหว่างซี่ หรือ ขาติดระหว่างซี่กรง แล้วโดนเหยียบได้ ซึ่งเพื่อนๆ สามารถจะป้องกันได้ โดยการปูพื้นกรงด้วยหญ้าแห้งค่ะ อาจจะเป็น หญ้าขนแห้งๆ หรือหญ้าแห้ง Timothy ที่ขายเป็นถุงๆก็ได้ค่ะ เพื่อปิดซี่ห่างของพื้นกรง ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความปลอดภัย แม่กระต่ายยังสามารถจะใช้รองนอน ลูกกระต่ายก็ได้รับความอบอุ่น และแม่กระต่ายยังสามารถจะแทะหญ้าแห้งเหล่านี้กินได้อีกด้วย


กระต่ายแรกเกิด

          ลูกกระต่าย แรกเกิด จะยังไม่ลืมตาค่ะ ตัวจะเป็นสีชมพูแป๊ด ไม่มีขน ตาจะยังไม่ลืมซึ่งเมื่อตอนกระต่ายแรกเกิดนั้น จะช่วยเหลือตัวเองไม่ได้เลย ต้องให้แม่กระต่ายเลี้ยงค่ะ เมื่อแม่กระต่ายคลอดลูก ออกมาแล้ว แม่กระต่าย จะเลียทำความสะอาดลูกทันที เมื่อกระต่ายจะเข้ามาให้นมลูก ลูกกระต่ายจะดิ้นตะกายเข้ามาหานมของแม่กระต่าย โดยที่แม่กระต่ายจะยกตัวขึ้นเล็กน้อย และลูกกระต่าย จะนอนหงายดูดนมวิธีสังเกตง่ายๆ ว่าแม่กระต่ายเลี้ยงลูกหรือเปล่า ก็คือ ดูจากตรงท้องกระต่ายค่ะ หากได้รับน้ำนมจากแม่อย่างเพียงพอ ท้องลูกกระต่ายจะเต่ง แต่ถ้าแม่กระต่ายไม่เลี้ยงลูก ท้องจะแฟบเหี่ยวค่ะ แบบในภาพ

การเจริญเติบโตของลูกกระต่าย
  • เมื่อแรกเกิด จะยังไม่มีขนขึ้นค่ะ ตัวสีแดงๆ ตาไม่ลืม
  • ภายใน 1 สัปดาห์ ขนจะขึ้นเต็มตัว
  • ภายใน 6-10 วัน จะเริ่มลืมตา
  • และเมื่ออายุครบ 3 สัปดาห์ จะหย่านม