กระต่ายป่วยหรือไม่กระต่ายจะซึม
1. ไม่เดินมาหาเหมือนทุกทีนอนอยู่มุมกรงไม่กินอาหาร อึของกระต่าย
2. ตรวจดูว่าอึเหลวหรือไม่หรือว่าไม่มีอึเลยหรือเปล่าหากไม่มีอึเลยในกรง หรืออึน้อยผิดปกติ มีโอกาสสูงนะคะ ที่กระต่ายอาจจะเกิดการอุดตันในทางเดินอาหาร ซึ่งอึของกระต่ายบอกอะไรได้หลายๆอย่างเลยทีเดียว หากอึของกระต่ายมีขนาดเล็กลง หรือว่า มีสิ่งแปลกปลอมผสมอยู่เช่น มีขนติดกับก้อนอึมากๆ เราควรจะต้องระวังให้ดีเลยค่ะ อาจจะพาไปให้หมอ เอ็กซเรย์ดูก็ได้ค่ะ ว่ามีการอุดตันหรือไม่ตัวร้อน
3. เราจะวัดอุณหูมิร่างกายของกระต่ายตรงหูนะคะ หากว่า หูของกระต่ายร้อนผิดกว่าทุกที แปลว่า ไม่สบายค่ะ (ลองเทียบกับหูกระต่ายตัวอื่นๆที่เลี้ยงก็ได้ค่ะ) ส่วนหากหูเย็นผิดปกติ แปลว่า อุณหภูมิร่างกายลดต่ำลงมากๆ ซึ่งอาจจะเป็นสัญญาณบอกถึงอาการเจ็บป่วยได้นะคะหายใจลำบาก
4. หายใจมีเสียงดังฟึ่ดๆ ผิดปกติ แปลว่า อาจจะเกิดอาการติดเชื้อที่ระบบทางเดินหายใจค่ะ หรือไม่อาจจะเกิดจากการแพ้อะไรบางอย่าง เช่น ขี้เลื่อยปูพื้นกรงที่ใช้อยู่น้ำตาไหล
อาจจะเกิดจากตาอักเสบ หรือมีการติดเชื้อที่ตาเป็นต้นคอเอียง เป็นไปได้ค่ะ ว่าอาจจะตกจากที่สูง หรือไม่ก็เกิดการอักเสบในช่องหู หรือไม่ก็ติดเชื้อจากอาการหวัด แล้วลามเข้าสู่หูชั้นใน อันนี้อันตรายมา
5. ขาแป หรือแบะออก บางครั้งอาการนี้ไม่ได้เป็นมาตั้งแต่เกิดนะคะ แต่เกิดจากการเลี้ยงกระต่ายบนพื้นผิวที่ลื่นมากตลอดเวลา หากกระต่ายเริ่มมีอาการแบบนี้ ควรจะเปลี่ยนให้ไปอยู่ตรงพื้นที่ไม่ใช่ผิวเรียบ
6. มีน้ำไหลออกมาเลอะตรงคาง หรือว่า ทำท่าอยากอาหารแต่กินอาหารไม่ได้เป็นไปได้ว่ากระต่ายมีปัญหาที่ฟันเช่นฟันยาวฟันเอียงทำให้ควบคุมน้ำลายไม่ได้และกินอาหารไม่ได้ หรือบางรายอาจจะติดเชิ้อลงไปที่กรามอีกด้วย หากกระต่ายฟันผิดปกติควรจะพาไปหาหมอนะคะ เพราะว่า ไม่อย่างนั้นกระต่ายจะกินไม่ได้และตายในที่สุด อันที่จริงเราควรจะหมั่นตรวจฟันอยู่เรื่อยๆนะคะ เพราะว่า หากเราพบว่ากระต่ายฟันยาว หรือเอียงผิดปกติแต่เนิ่นๆ แล้วกระต่ายได้รับการตัดฟัน และดูแลอย่างดี ฟันก็อาจจะเข้าสู่รูปเดิมได้ แต่หากไม่ได้รับการรักษาเร็วพอ ฟันของกระต่ายจะยิ่งเกยกัน และเบี้ยวเสียรูปมากยิ่งขึ้น ทำให้ยิ่งรักษาได้ยากค่ะนอกจากนี้อาการน้ำลายไหลออกมา อาจจะบ่งบอกถึงการกินพืช หรือสารเคมีที่มีพิษเข้าไปอีกด้วย
7. ฉี่เป็นเลือด กระต่ายที่ฉี่เป็นเลือดนั้นมีน้อยมากๆส่วนใหญ่พอเอาเข้าจริงๆกลายเป็นสีในพืชที่กระต่ายกินเข้าไปค่ะไม่ได้เกี่ยวกับอาการเจ็บป่วยเลย แม้แต่นิดเดียวปกติแล้วฉี่ของกระต่ายจะมีสีเหลืองอ่อนๆ การที่ฉี่เป็นสีแดงนั้น จะเกิดจากฉี่มีสีค่อยๆเข้มขึ้นค่ะ จาก สีเหลืองอ่อน ไปเป็นเหลืองเข้ม แล้วเข้มขึ้นเรื่อยๆ จนเป็นสีส้ม สีแดง ส่วนใหญ่เกิดจาก การกินผักที่มีเบต้าแคโรทีนมากๆ อย่างเช่น พวกแครอท เป็นต้น ในกรณีที่กินยาปฏิชิวนะก็มีผลค่ะ หรือบางครั้ง การกินน้ำน้อยก็มีส่วน เพราะว่าฉี่เข้มข้นขึ้น ทำให้มีสีเข้มขึ้นตามปกติแล้ว ภายในไม่เกิน 3 วัน กระต่ายจะฉี่เป็นสีเดิม
8. หวัด กระต่ายจะมีอาการน้ำมูกไหลและจามแต่บางทีคนมักจะสับสนกับอาการที่อาจจะเกิดจากฝุ่นหรือน้ำเข้าจมูกดังนั้นเมื่อกระต่ายมีอาการจามเหมือนคน หรือมีน้ำมูกไหล วิธีตรวจง่ายๆ ว่าเป็นหวัดหรือไม่ โดย ให้ลองตรวจที่เท้าหน้าของกระต่าย ถ้าหากพบว่า ขนติดกัน หรือ บริเวณนั้นเปียก แล้วล่ะก็ เดาได้เลยค่ะ ว่าเป็นหวัด เพราะว่ากระต่ายจะใช้เท้าหน้าในการถูจมูกน้ำมูกค่ะ ตอนแรกน้ำมูกจะใสก่อน ต่อมาจะขุ่น และหากไม่ได้รับการรักษา อาการจะลุกลามไปกลายเป็น ปอดอักเสบ และเสียชีวิตในที่สุด
เชื้อรา
จะเริ่มจากการติดเชื้อรานี้ ที่ส่วนหัว และ แพร่กระจายไปยังขา และเท้า โดยเฉพาะอย่างยิ่ง บริเวณนิ้วเท้า หลังจากนั้น กระต่ายจะเริ่มมีแผลเกิดขึ้นตรงจุดที่ติดเชื้อรา และ โดยการติดเชื้อราจะมีขอบเขต เป็นวง และผิวหนังจะมีการระคายเคือง อาจจะมีอาการคัน และ เกิดสะเก็ดเป็นแผ่นแข็ง และขนร่วง เนื้อเยื่อทีอยู่ใต้สะเก็ดมักจะ มีอาการอักเสบ และ มีการแตกปริของผิวหนัง
Ear Mite หรือ เรียกว่า ปรสิตที่อยู่ตรงรูหูลองกลับไปส่องดูในรูหูกระต่ายดูนะคะ ว่ามีก้อนคล้ายๆกับขี้ผึ้งสีน้ำตาลเข้มๆ เกาะอยู่ที่ในใบหูของกระต่ายหรือเปล่า
โรคกระต่าย
1. พาสเจอร์เรลโลสิส ( Pasturellosis )
เป็นโรคที่พบบ่อยและเป็นปัญหาที่สำคัญในกระต่าย โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย พาสเจอเรลลา มัลโตซิดา ( Pasturella multocida )ซึ่งทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการแตกต่างกันตามอวัยวะที่เกิดติดเชื้อ ดังนี้
หวัด กระต่ายจะจามบ่อยๆมีน้ำมูกไหลออกจากช่องจมูก หายใจไม่สะดวก จมูกและเท้าหน้าจะเปียกชุ่ม
และมีน้ำมูกติดเนื่องจากกระต่ายใช้เท้าเช็ดหน้าเช็ดจมูก
ปอดบวม มักเกิดจากการเป็นหวัดแล้วลุกลามเข้าสู่ปอด กระต่ายจะหายใจลำบาก หอบ และอาจหายใจด้วยท้อง
ริมฝีปากและเปลือกตาจะมีสีคล้ำ ในระยะแรกจะมีไข้สูง เบื่ออาหารและนอนหมอบนิ่ง ลูกกระต่ายถ้าเป็นโรคนี้ส่วนใหญ่จะตาย สำหรับกระต่ายใหญ่จะมีโอกาสรอดเพียง 75%
ดังนั้นถ้าพบอาการเช่นนี้ในกระต่ายควรรีบนำกระต่ายไปพบสัตวแพทย์ทันที ตาอักเสบ มักเกิดหลังจากที่กระต่ายเป็นหวัด เนื่องจากกระต่ายชอบใช้เท้าหน้าเช็ดจมูก ทำให้เชื้อโรคจากจมูกเข้าสู่ตาได้ง่าย อาการเริ่มแรกคือหนังตาและตาขาว อักเสบ บวมแดง บางครั้งมีหนอง ส่วนแก้วตาจะอักเสบและขุ่นขาว ถ้าไม่รีบรักษาอาจทำให้ตาบอดได้ การรักษา ล้างตาให้สะอาดโดยใช้น้ำเกลืออ่อนๆ (0.85 %)หรือน้ำยาล้างตา แล้วใช้ยาปฏิชีวนะในรูปครีม หรือใช้ยาหยอดตาของคนทาจนกว่าจะหาย
อัณฑะอักเสบ เกิดจากติดเชื้อที่อัณฑะ ทำให้ลูกอัณฑะขยายใหญ่ และมีหนองเมื่อจับที่อัณฑะจะรู้สึกร้อนกว่าปกติ
การอักเสบมักลุกลามไปที่อวัยวะเพศ ทำให้สามารถติดต่อได้โดยการผสมพันธุ์ การรักษามักไม่ได้ผลจึงควรตัดทิ้ง
2. มดลูกอักเสบ เกิดจากการติดเชื้อหลังคลอดลูกหรือจากการผสมพันธุ์ ผนังมดลูกจะเกิดการอักเสบมีหนองภายในโพรงมดลูกและอาจพบหนองถูกขับออกมาทางอวัยวะเพศ มักมีไข้สูง เมื่อคลำตรวจจะพบว่ามดลูกขนาดใหญ่
การรักษาทำได้ยากมากและกระต่ายมักจะเป็นหมันจึงควรตัดทิ้ง
3. สแตฟฟิลโลคอคโคซีส ( Staphylococcosis ) โรคนี้มีสาเหตุจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ สแตฟฟิลโลคอคคัส ออเรียส
( Staphylococcus aureus ) ทำให้กระต่ายป่วยและมีอาการ ดังนี้
ฝีหนองใต้ผิวหนัง เกิดจากการติดเชื้อที่ผิวหนัง ทำให้เป็นหนองซึ่งมีเปลือกหุ้ม เมื่อฝีสุกเปลือกส่วนหนึ่งจะบางลงและแตกออกมีหนองไหลออกมา การรักษา ต้องรอให้ฝีสุกและเจาะเอาหนองออก
ขูดเปลือกฝีด้านในให้สะอาดแล้วทาด้วยทิงเจอร์ ไอโอดีน
เต้านมอักเสบ เต้านมจะร้อน บวมแดง มีไข้ กระต่ายตัวที่เป็นอย่างรุนแรง เต้านมจะมีสีคล้ำ เย็น และแข็งถ้าพบอาการเช่นนี้ควรคัดทิ้งหรือถ้าไม่แน่ใจควรรีบปรึกษาสัตวแพทย์
ข้ออักเสบ เกิดจากมีบาดแผลที่ผิวหนังบริเวณฝ่าเท้าแล้วเชื้อโรคลุกงามเข้าสู่ข้อเท้า ทำให้ข้อเท้าบวมแดง เจ็บปวดกระต่ายอาจมีไข้และมักพบบาดแผลที่ฝ่าเท้า การรักษา ทำความสะอาดแผล แล้วทาด้วยทิงเจอร์ไอโอดีน ถ้ามีหนองในข้อจะรักษาได้ยาก และอาจจะเป็นต้องตัดขาเหนือข้อที่อักเสบ ควรป้องกันโดยการดูแลพื้นกรงอย่าให้มีส่วนแหลมคมยื่นออกมาตำเท้ากระต่าย
4. โรคบิด (Coccidiosis) เกิดจากเชื้อโปรโตซัวพวกไอเมอร์เรีย ได้แก่ Eimeria stiedac , E. irresdua
, E. magna ฯลฯ การติดต่อจะเกิดจากโอโอซิส (Oocyst) ของเชื้อที่ปนมากับอาหารและน้ำ อาการ ถ้าเป็นน้องจะไม่แสดงอาการ แต่ถ้าเป็นมากซึ่งมักพบในลูกกระต่าย จะทำให้น้ำหนักลด ท้องเสีย อาจถ่ายเป็นน้ำหรือมีเลือดปน
และอาจทำให้ตายได้ การรักษา เลือกใช้ยาในกลุ่มซัลฟา ( Sulfa ) หรือแอมโปรเลียม ( Amprolium )
5. โรคทิซเซอร์ (Tizzer's disease) เกิดจากเชื้อแบคทีเรียชื่อ แบซัลลัส ฟิลลิฟอร์มิส ( Bacillus pilliformis )
มักพบในกระต่ายที่มีอายุ 7 - 12 สัปดาห์มากที่สุด อาการ ท้องเสีย ถ่ายเป็นน้ำหรือเลือด ในรายที่เกิดอย่างเฉียบพลันจะมีเลือดออกจากลำไส้ใหญ่ กระต่ายจะตายเนื่องจากเสียน้ำและเลือดมาก การรักษา ให้ยาออกซี่เตตร้าซัยคลิน (Oxytetracyclin)
ละลายน้ำให้กิน
6. โรคติดเชื้อ อี.โค ไล (Colibacillosis) เกิดจากการเพิ่มจำนวนเชื้อ E.coli ในทางเดินอาหาร กระต่ายจะมีอาการท้องเสียอย่างรุนแรงและตายได้ การรักษา แก้ไขตามอาการ อาจให้ยาปฏิชีวนะเพื่อลดจำนวนแบคทีเรียในลำไส้
ให้น้ำเกลือ เพิ่มอาหารหยาบ
7. เอ็นเทอร์โรท๊อกซีเมีย (Enterotoxemia) เกิดจากเชื้อคลอสติเดียม (Clostridium spp.) ทำให้กระต่ายท้องเสียหรือตายอย่างเฉียบพลัน การรักษาเช่นเดียวกับโรคติดเชื้ออีโคไล
8. ไรในหู (ear manage or ear canker) เกิดจากไรพวกโซรอบเตส แคนิคุไล (Psoroptes caniculi)
อาการ จะเห็นแผ่นสีน้ำตาลคล้ายขี้หูซ้อนเป็นชั้นๆที่ด้านในของใบหู ถ้าสังเกตดีๆจะพบตัวไรขนาดเล็กสีน้ำตาลจำนวนมาก กระต่ายที่เป็นโรคนี้จะคันหูทำให้มันสั่นหัวและใช้เท้าเกาหู บางครั้งเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย ทำให้มีหนอง และมีกลิ่นเหม็น การรักษา ทำความสะอาดด้านในของใบหู เช็ดด้วยไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ ( H2O2 )แล้วทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถันให้ทั่ว ควรป้องกันโดยการตรวจหูกระต่ายเป็นประจำและทำความสะอาดกรงและอุปกรณ์การเลี้ยงเสมอๆ
9. ไรที่ผิวหนัง ( skin manage ) เกิดจากไรพวก Sarcoptes scabei , var. cuniculi, Notedes cati var. caniculi อาการ ผิวหนังเป็นสะเก็ดหนาและย่น ขนร่วง พบมากที่ปลายจมูก และขอบใบหูการรักษา ขูดผิวหนังให้สะเก็ดหลุดออก ทาด้วยขี้ผึ้งกำมะถัน ถ้ายังไม่หายควรปรึกษาสัตวแพทย์
การป้องกันและควบคุมทำเช่นเดียวกับโรคไรในหู
ความคิดเห็นนี้ถูกผู้เขียนลบ
ตอบลบ